Author: Thinker Friend

ลืมหรือว่าตั้งใจ? โดนัลด์ ทรัมป์ไม่ได้วางมือบนคัมภีร์ไบเบิลของอับราฮัม ลินคอล์น

โดนัลด์ ทรัมป์ไม่ได้วางมือบนคัมภีร์ไบเบิลขณะกล่าวคำสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 เป็นสมัยที่2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 รายละเอียดเพิ่มเติม เสียงวิพากษ์วิจาร แม้ทรัมป์จะไม่ได้วางมือบนคัมภีร์ไบเบิลขณะสาบานตน แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่อย่างใด หลายคน รวมทั้งชาวเน็ตได้ตั้งคำถามถึงความหมายของการกระทำนี้ และบางกลุ่มมองว่าเป็นการละเลยธรรมเนียมปฏิบัติที่สำคัญ นี่ก็เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ถูดพูดถึงในช่วงค่ำคืนพิธีสาบานตนเมื่อคืนที่ 20 ม.ค.68 ของทรัมป์ที่ผ่านมา ประวัติ คัมภีร์ไบเบิลของอับราฮัม ลินคอล์น คัมภีร์ไบเบิลของอับราฮัม ลินคอล์น (Lincoln Bible) เป็นคัมภีร์ไบเบิลที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมากในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นคัมภีร์ไบเบิลที่อับราฮัม ลินคอล์นใช้ในพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่

Pete Hegseth จากนักข่าว Fox News สู่ รมต.กลาโหมสหรัฐ

นาทีนี้โลกจับจ้องไปยังสหรัฐในยุคของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิปดีสมัยที่ 2 หลายประเทศหนาวๆร้อนๆ ลุ้นว่าสหรัฐจะออกนโยบายแบบไหน สื่อนำมาวิเคราะห์เล่นข่าวทุกวัน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมุ่งเน้นไปด้านพลิกฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศ การขึ้นกำแพงภาษีการค้า และที่น่าจับตามองมากที่สุดคือนโยบายของกองทัพสหรัฐ ซึ่งล้วนมีความเกี่ยวพันในหลายประเทศ ทั้งการสนับสนุนอาวุธยุโทปกร กำลังทหาร ด้วยบทบาทและอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอำนาจควบคุมกองทัพสหรัฐฯ รองจากประธานาธิบดีเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการกำกับดูแลความสัมพันธ์ทางทหารกับพันธมิตรทั่วโลก กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการทหารและความมั่นคงของสหรัฐฯ ควบคุมดูแลงบประมาณกลาโหมซึ่งมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สั่งการปฏิบัติการทางทหารตามคำสั่งของประธานาธิบดี เราไปดูกันว่านอกจากอำนาจในสหรัฐ ยังมีอำนาจ และอิทธิพลในการกำหนดทิศทางของโลกอย่างไร อำนาจของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อโลกในวงกว้าง ผลกระทบต่อประเทศไทย ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ

“บ้านเพื่อคนไทย” ลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย เผยสถิติ 5.87 ล้านครอบครัว หรือประมาณ 27% ของครัวเรือนทั้งหมด ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง

กรุงเทพฯ – เมื่อวันที่ 17 ม.ค.68 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร เป็นประธานเปิดตัวโครงการ “บ้านเพื่อคนไทย” พร้อมพาชมตัวอย่างบ้านและคอนโดที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยเน้นว่าโครงการนี้มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย และช่วยให้คนไทยทุกกลุ่มสามารถมีบ้านเป็นของตัวเอง บ้านเพื่อคนไทย: ที่อยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นายกรัฐมนตรีแพทองธาร เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยกว่า 5.87 ล้านครอบครัว หรือประมาณ 27% ของครัวเรือนทั้งหมด ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตของประชาชน “บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ที่สำคัญที่สุด

ปัญหา Bot-resall แย่งจองบัตรคอนเสิร์ต,ตั๋วบัตรกีฬาออนไลน์ ลามหนักทั้งไทยและทั่วโลก ปัญหาที่รอการแก้ไข

ปัญหาการซื้อบัตรคอนเสิร์ตในยุคดิจิทัลกลายเป็นประเด็นร้อนที่สร้างความไม่พอใจให้แก่แฟนเพลงทั่วโลก ตั้งแต่ระบบล่มในวันขายบัตร ไปจนถึงการกดซื้อบัตรโดยบอทที่นำไปรีเซลในราคาสูงเกินจริง สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความซับซ้อนของระบบจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตที่ยังขาดการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ นายอาร์ม ยูทูปเปอร์สาย tech ชื่อดังเปิดประเด็นร้อน สะท้อนปัญหา Botresall แย่งซื้อบัตรคอนเสิร์ต ที่เป็นปัยหาในไทยและต่างประเทศ พร้อมเสนอมุมมองในการแก้ไขปัญหา thinkerfriend นำมาสรุปให้อ่าน พร้อมข้อมูลรอบด้าน เพื่อเข้าใจปัญหา และแนวทางในการแก้ไขเรื่องนี้กันครับ สองปัญหาใหญ่: ระบบล่มและบอทรีเซล หนึ่งในปัญหาหลักที่แฟนเพลงมักเผชิญคือ ระบบล่ม เนื่องจากปริมาณผู้เข้าใช้งานที่สูงเกินคาดในวันเปิดขายบัตร อีกทั้งยังมีปัญหาจาก บอทรีเซล ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อกดบัตรในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปไม่มีโอกาสทันซื้อบัตร บอทเหล่านี้ไม่เพียงทำให้บัตรหมดอย่างรวดเร็ว แต่ยังสร้างตลาดรีเซลที่บัตรถูกขายต่อในราคาสูงลิ่ว เป็นการซ้ำเติมแฟนเพลงที่ต้องการสนับสนุนศิลปินที่พวกเขารัก

เอกนัฏ ชี้ “อุตสาหกรรมไทยต้องสะอาดและรับผิดชอบ” เดินหน้ากฎหมายใหม่แก้ปัญหามลพิษอย่างยั่งยืน

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา ช่วงตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ ทาง นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับปัญหามลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชน และคุณภาพชีวิตในชุมชน โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน พร้อมเปิดตัวมาตรการเข้มข้นเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิด มลพิษจากอุตสาหกรรม ปัญหาที่รอการแก้ไข โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของโรงงาน เช่น จังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่รอบกรุงเทพฯ ถูกระบุว่ามีการปล่อยมลพิษในรูปแบบต่างๆ อาทิ ควันพิษ น้ำเสีย และกากอุตสาหกรรม ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังก่อให้เกิดโรคภัยในชุมชน เช่น โรคทางเดินหายใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เอกนัฏชี้ว่า มีข้อมูลยืนยันว่าบางโรงงานแอบปล่อยน้ำเสียในเวลากลางคืนหรือช่วงฝนตก เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ

เอาจริง! ‘เอกนัฏ’ จ่อฟัน ‘อุตสาหกรรมใครทำผิดจับหมด ไม่สนใจว่าจะใหญ่มาจากไหน’ เตรียมออกกฎหมายเข้ม

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะที่ 492 เรื่อง ปัญหาการเกิดควันพิษ และน้ำเสียที่ปล่อยมาจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยช่วงนึง เอกนัฏ ได้กล่าวถึงความจริงจังในการทำงานและเข้มงวดที่ผ่านมา ลั่น! ‘อุตสาหกรรมใครทำผิดจับหมด ไม่สนใจว่าจะใหญ่มาจากไหน’ เตรียมออกกฎหมายเข้ม งานนี้ต้องติดตามจริงๆ เรียกได้ว่าทำงานถึงลูกถึงคนแบบนี้ ถูกใจประชาชนครับผม!

ความร่วมมือไทย-เกาหลีใต้: 35 ปีแห่งมิตรภาพสู่อนาคตที่สดใสในอาเซียน

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568 มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “เส้นทางสู่อนาคต: ความร่วมมือไทย-สาธารณรัฐเกาหลีในบริบทอาเซียน” ณ อาคารรัฐสภา โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์อันยาวนานกว่า 35 ปี ระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือในหลากหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง เปิดเวทีด้วยภาพรวมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น นายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดการเสวนาด้วยการกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี ตั้งแต่ระดับคู่เจรจาเฉพาะสาขา จนกระทั่งพัฒนาสู่การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership: CSP) ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์นี้ถูกยกระดับเป็นหนึ่งในมิตรภาพที่แน่นแฟ้นที่สุดของภูมิภาค

“เมื่อเก่งแล้วเจอเก่งกว่า” ถอดบทเรียนจากเด็กไทยใน MIT

โลกของการศึกษาเต็มไปด้วยการแข่งขัน เมื่อใครสักคนสามารถก้าวเข้าสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกได้ ย่อมหมายถึงเขาเป็น “คนเก่ง” ในสาขาของตนเอง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อคนเก่งต้องเจอกับ “เก่งกว่า” ความรู้สึกของพวกเขาเป็นอย่างไร? นี่คือประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในรายการ แท็กทีม EP.04 ทาง YouTube ซึ่งสัมภาษณ์ วริษ ตู้จินดา หรือ “เต๋า” นักศึกษาปี 2 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) จาก MIT (Massachusetts Institute of Technology)

เส้นทางผู้ตัดสินตรงฉิน ‘หนามเตย ยนตรกิจ’ จากยอดมวยยุค2500สู่ประธานฝ่ายเทคนิคสนามมวยลุมพินี

เสียงระฆังดังขึ้น นักมวยทั้งสองยืนประจันหน้ากัน สายตาทุกคู่ในสนามจับจ้องอยู่ที่พวกเขา แต่มีอีกหนึ่งบุคคลที่อยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสองฝ่าย คนที่ไม่มีใครอยากให้ผิดพลาด – นั่นคือ กรรมการมวยไทย Legendary Referee of the Year วันนี้ thinkerfriend ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ หนามเตย ยนตรกิจ หรือ พ.อ.พิเศษ นรินทร์ พวงแก้ว ผู้ได้ถูกบันทึกว่าเป็นดาวรุ่งยอดมวยยุค2500 เฉิดฉายในเส้นทางมวยไทยก่อนจะเลือกชีวิตรับราชการทหาร สร้างครอบครัว สู่โอกาสการก้าวไปสู่กรรมการ และดำรงตำแหน่งสูงสุด คือ ประธานฝ่ายเทคนิคสนามมวยเวทีมวยลุมพินี ซึ่งเป็นสนามมวยไทยมาตรฐาน

“เซี้ย วัดหนัง” เซียนพระพันล้าน จากนักเลงสู่นักสะสมระดับตำนาน

ในวงการพระเครื่องของเมืองไทย หากเอ่ยชื่อ “เซี้ย วัดหนัง” คงไม่มีใครไม่รู้จัก เซียนพระที่ไม่ได้เปิดร้าน ไม่ใช่พ่อค้าพระ แต่เป็น นักสะสมตัวยง ที่ครอบครองพระเครื่องมูลค่ากว่าพันล้านบาท เรื่องราวชีวิตของเขาเต็มไปด้วยสีสัน จากเด็กที่ไม่จบมัธยม เติบโตมาในย่านป้อมปราบฯ ผ่านชีวิตโลดโผนสู่การเป็นนักธุรกิจ วันนี้ขอนำบทสัมภาษณ์ที่น่าสนใจ ของชีวิตและเส้นทางชีวิต เซี้ย วัดหนัง จากช่อง youtube : Koboykrush มาถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือให้อ่านกันครับ เด็กหนุ่มหัวดื้อกับเส้นทางที่ไม่มีใครคาดคิด ‘เซี้ย วัดหนัง หรือ ศรณรินศ์ อัครตันเสถียร เติบโตมาในครอบครัวชาวจีน

Twenty Twenty-Five

email@example.com
+1 555 349 1806