เสียงระฆังดังขึ้น นักมวยทั้งสองยืนประจันหน้ากัน สายตาทุกคู่ในสนามจับจ้องอยู่ที่พวกเขา แต่มีอีกหนึ่งบุคคลที่อยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสองฝ่าย คนที่ไม่มีใครอยากให้ผิดพลาด – นั่นคือ กรรมการมวยไทย
Legendary Referee of the Year

วันนี้ thinkerfriend ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ หนามเตย ยนตรกิจ หรือ พ.อ.พิเศษ นรินทร์ พวงแก้ว ผู้ได้ถูกบันทึกว่าเป็นดาวรุ่งยอดมวยยุค2500 เฉิดฉายในเส้นทางมวยไทยก่อนจะเลือกชีวิตรับราชการทหาร สร้างครอบครัว สู่โอกาสการก้าวไปสู่กรรมการ และดำรงตำแหน่งสูงสุด คือ ประธานฝ่ายเทคนิคสนามมวยเวทีมวยลุมพินี ซึ่งเป็นสนามมวยไทยมาตรฐาน
ประวัติโดยย่อ ก่อนจะเป็นฉายา หนามเตย ยนตรกิจ ในยุคแรกๆเติบโตอยู่อีสาน จังหวัดศรีสะเกษ ใช้ชื่อ นาครินทร์ ลูกศรีสะเกษ ต่อยมวยหาเลี้ยงตัวเองตั้งแต่เด็กๆ ด้วยบิดามารดา ประกอบอาชีพชาวนา เกษตรกร ที่บ้านขีเหล็กอุทุมพรพิสัย หนามเตย จึงใฝ่ฝันว่าอยากจะใช้วิชามวยไทยแบ่งเบาภาระและดูแลน้องๆหลายคน ด้วยความที่เป็นมวยฝีมือดีปราบมวยดังภาคอีสานหลายคน จึงเข้าตาแมวมองและได้รับการทาบทามจากผู้ใหญ่เข้ามาต่อยที่กรุงเทพฯ ค่ายยนตกิจ เพชรพญาธร ของบรมครูเตี่ยตังกี้ เขตดุสิต และได้รับการตั้งชื่อฉายามวย ‘หนามเตย ยนตรกิจ’ นับแต่นั้น จากฟอร์มการชกออกอาวุธที่รวดเร็ว และครบเครื่อง เตะหนัก จงสามารถสร้างชื่อติดอยู่ในทำเนียบ ยอดมวยไทย ยุคปี 2500 จากนั้นชีวิตก็โลดแล่นในวงการมวย เริ่มปักหลักปักฐานสร้างฐานะและครอบครัวแต่นั้นมา

นอกจากนี้ หนามเตย ยนตรกิจ ยังเคยได้รับรางวัลมากมาย และสิ่งที่ภูมิใจที่สุดคือ กรรมการผู้ตัดสินยอดเยี่ยมแห่งปี ของวงการมวยอีกด้วย เป็นเครื่องการันตรีในการทำงานที่ซื่อสัตย์เที่ยงตรงไม่มีด่างพร้อยบนเส้นทางทั้งนักมวย และกรรมการผู้ตัดสิน

ประสบการณ์มากมาย ทั้งในระดับสต๊าฟโค้ชมวยทีมชาติทั้งเอเชียลเกมส์ ซีเกมส์ สต๊าฟกองทัพบก กองทัพอากาศหลายสมัย รับราชการทหารและเป็นอาจารย์สอนพลศึกษาและศิลปแม่ไม้มวยไทยให้กับลูกศิษย์โรงเรียนเตรียมทหารกว่า60รุ่น
ด้วยบุคลิคที่ สมถะเรียบง่าย ใช้ชีวิตบนเส้นทางที่ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ และกตัญญู ทำให้หนามเตย ยนตรกิจ ได้รับยอมรับจากแวดวงการมวย เป็นบุคคลที่เป็นตำนาน น่ายกย่อง เป็นปูชนียบุคคลอีกท่านที่ควรค่าแกการนำมากล่าวถึง
และนี่คือบทสัมภาษณ์ อดีตกรรมการผู้ตัดสินสินระดับชาติ พูดถึงการครองตน และการวางตัวที่ดี ซึ่งได้รับการถ่ายทอดและนำไปปฏิบัติตนทั้งในและนอกสนาม ถือเป็นการบทเรียนชีวิตให้กับน้องๆและคนที่สนใจเลือกเส้นทางกรรมการผู้ตัดสินทั้งในวงการมวย และวงการกีฬา

ในโลกของการแข่งขันมวยไทย กรรมการไม่ใช่แค่ “ผู้ตัดสิน” แต่เป็น เสาหลักของความยุติธรรม บ่อยครั้งที่ชัยชนะและความพ่ายแพ้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพวกเขา แล้วอะไรคือ คุณสมบัติที่ทำให้กรรมการเป็นที่เคารพและไว้วางใจ?
กรรมการที่ดีต้อง “ซื่อสัตย์และเป็นกลาง”
พันเอกพิเศษ นรินทร์ พวงแก้ว ผู้มีประสบการณ์ยาวนานในวงการมวยไทย ได้กล่าวไว้ว่า “กรรมการต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง ซื่อสัตย์ และไม่มีอคติ”
ในสนามมวย อำนาจการตัดสินอยู่ในมือกรรมการ จังหวะการให้คะแนน การนับแปด หรือแม้แต่การตัดสินชี้ขาด สามารถเปลี่ยนชีวิตนักมวยคนหนึ่งได้ การ ยึดมั่นในความถูกต้อง คือสิ่งที่ทำให้กรรมการเป็นที่น่าเชื่อถือ
“ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่ใช่เพราะความไม่ซื่อสัตย์” – คำพูดนี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้บางครั้งอาจมีการตัดสินที่ไม่สมบูรณ์แบบ แต่ตราบใดที่กรรมการ ไม่ได้ถูกครอบงำโดยอคติหรือผลประโยชน์ เขาก็ยังเป็นที่เคารพของคนในวงการ


การเป็นกลาง ไม่สนิทสนมกับค่ายมวย
สิ่งสำคัญอีกประการคือ “การวางตัว” พันเอกพิเศษนรินทร์กล่าวว่า “อย่าให้ใครตั้งข้อสงสัยในความเป็นกลางของคุณ”
หนึ่งในข้อผิดพลาดที่อาจทำลายความน่าเชื่อถือของกรรมการ คือ การมีความสนิทสนมกับนักมวยหรือค่ายมวยใดค่ายมวยหนึ่งมากเกินไป
ลองจินตนาการดูว่า หากกรรมการคนหนึ่งเพิ่งนั่งรับประทานอาหารกับหัวหน้าค่ายมวยเมื่อคืนนี้ แล้ววันนี้เขาต้องตัดสินนักมวยจากค่ายนั้น ความน่าเชื่อถือของเขาจะเหลืออยู่แค่ไหน?
นี่คือเหตุผลที่กรรมการมืออาชีพ ต้องรักษาระยะห่าง ไม่รับผลประโยชน์ใดๆ และวางตัวให้เป็นกลางตลอดเวลา

“ความแม่นยำในกติกา” และ “การตัดสินที่เด็ดขาด”
กรรมการที่ดี ไม่ได้เป็นแค่ผู้ที่ซื่อสัตย์เท่านั้น แต่ยังต้อง แม่นยำในกติกา และ ตัดสินอย่างเด็ดขาด
มวยไทยเป็นกีฬาที่มีรายละเอียดซับซ้อน จังหวะการออกอาวุธ ท่าทางที่ได้เปรียบเสียเปรียบ การล้ม การนับ ทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
“การแยกนักมวย จังหวะไหนต้องหยุด จังหวะไหนปล่อยให้สู้ต่อ – ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกรรมการ”
ความแม่นยำเหล่านี้ไม่ได้มาโดยบังเอิญ แต่มาจากการ ฝึกฝนอย่างหนัก ศึกษากติกา และฝึกการตัดสินอยู่เสมอ

“ควบคุมอารมณ์” เพราะทุกสายตาจับจ้องมาที่คุณ
อีกหนึ่งคุณสมบัติสำคัญคือ “การควบคุมอารมณ์”
สนามมวยเต็มไปด้วยความกดดัน ทั้งเสียงเชียร์จากกองเชียร์ เสียงโห่จากแฟนมวยที่ไม่พอใจ และแรงกดดันจากนักมวยที่ต้องการความยุติธรรม
กรรมการที่ดี ต้องไม่ให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ต้องมี จิตใจที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อแรงกดดันจากรอบข้าง
“ถ้าคุณใช้อารมณ์ตัดสินแทนกติกา วันนั้นคุณก็ไม่ต่างอะไรกับคนดูข้างเวที”
“กรรมการมวยไทยที่ดี” ต้องมีอะไรบ้าง?
✅ ซื่อสัตย์ เป็นกลาง ไม่เอนเอียง
✅ เชี่ยวชาญกติกา ตัดสินแม่นยำ
✅ วางตัวให้เหมาะสม ไม่สร้างข้อครหา
✅ ควบคุมอารมณ์ ไม่ตัดสินด้วยอารมณ์


บทสรุป: ผู้รักษาความศักดิ์สิทธิ์ของมวยไทยมวยไทยไม่ใช่แค่กีฬาต่อสู้ แต่มันเป็นศาสตร์และศิลป์ เป็นวัฒนธรรมที่มีเกียรติ
และกรรมการคือ “ผู้รักษาความศักดิ์สิทธิ์ของมวยไทย”
พวกเขาไม่ใช่แค่คนที่ชูมือให้นักมวยคนหนึ่งชนะ แต่คือคนที่ทำให้ชัยชนะนั้นมีความหมายและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

ดังนั้น การเป็นกรรมการที่ดี ไม่ใช่แค่รู้กติกา แต่ต้องรู้จักวางตัว ซื่อสัตย์ และเป็นกลาง
เพราะชัยชนะที่แท้จริงของกรรมการ คือการได้รับความเคารพจากทั้งวงการมวยไทย 👊🥊





ที่คือชีวิตและแนวคิดการทำงานของตำนานที่ยังมีลมหายใจในวัย 85 ปี หนามเตย ยนตรกิจ หรือ พ.อ.พิเศษ นรินทร์ พวงแก้ว ปัจจุบันยังแข็งแรง ความจำเป็นเลิศ ชอบตีเทนนิส เดินออกกำลังกายเป็นประจำ
โดยทาง หนามเตย ยนตรกิจ ได้ฝากความคิดถึงพี่น้องเพื่อนๆและลูกศิษย์ทุกคน ขอให้พบแต่ความสุขกาย สุขใจตลอดปีใหม่ 2568







เกียรติประวัติผลงานและปฏิบัติหน้าที่เผยแพร่เทคนิคและศิลปแม่ไม้มวยไทยในต่างแดน
นอกจากนี้ พ.อ.พิเศษ นรินทร์ พวงแก้ว หรือหนามเตย ยนตรกิจ อดีตตำนานยอดมวยไทย ยุค พ.ศ. 2500 และประธานฝ่ายเทคนิคสนามมวยเวทีลุมพินี ยังได้มีโอกาสเดินทางไปทำงานในต่างแดน โดยได้รับมอบหมายจากกองทัพและสมาคมมวยฯ ไปเผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทยในยุคแรกๆ ดังนี้
ปี พ.ศ. 2512
เป็นสต๊าฟโค้ชมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย ในการแข่งขันชิงชนะเลิศ แห่งทวีปเอเชีย ณ ประเทศไทย คว้าเหรียญทอง 2 เหรียญ จาก บรรเทา ศรีสุข (รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท) และ มานิตย์ ตรีอรุณลักษณ์ (รุ่นไลท์เฮฟวีเวท) เหรียญเงิน 1 เหรียญ จาก ศักดิ์ดา ส่องแสง (รุ่นไลต์เวลเตอร์เวต) เหรียญทองแดง 1 เหรียญ จาก สิงห์โต แจ่มจิตรมั่น (รุ่นเวลเตอร์เวต) นอกจากนี้ สุรพงษ์ ศรีภิรมย์ ยังเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในรุ่นไลต์ฟลายเวต ผลงานครั้งนี้สร้างความภาคภูมิใจให้กับวงการมวยไทยเป็นอย่างมาก
ปี พ.ศ. 2513
เป็นสต๊าฟโค้ชมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่6 ณ ประเทศไทย คว้า 2 เหรียญทองจาก “บรรเทา ศรีสุข” ในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวตโดยในรอบชิงชนะเลิศบรรเทาสามารถเอาชนะ “เขียว แสน” นักชกจากกัมพูชาที่ผ่านเวทีโอลิมปิกเกมส์มาแล้ว ส่วนอีกเหรียญทองนั้นได้มาจากมวยรุ่นใหญ่อย่าง “มานิตย์ ตรีอรุณเอก” ที่สามารถพลิกเอาชนะ “ปาร์ค ฮยอง จุน” จากเกาหลีใต้ไปได้อย่างสนุกสร้างความภูมิใจให้กับแฟนกีฬาไทยเป็นอย่างมาก
ปี พ.ศ. 2520
เป็นสต๊าฟโค้ชมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ณ ประเทศมาเลเซีย เป็นครั้งแรกที่การแข่งขันใช้ชื่อ “ซีเกมส์” อย่างเป็นทางการ คว้าเหรียญทองได้ 4 เหรียญ เหรียญเงิน 2 เหรียญ และเหรียญทองแดง 3 เหรียญ ข้อมูล https://en.wikipedia.org/wiki/Boxing_at_the_1977_SEA_Games
ปี พ.ศ. 2521
เป็นสต๊าฟโค้ชมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ณ ประเทศไทย คว้าเหรียญทอง 1 เหรียญทอง จากฝีมือของ “ศิริ สุปัญญา” ในรุ่นไลต์ฟลายเวตโดยในรอบชิงชนะเลิศสามารถเอาชนะ “รี บยองอุก” นักชกเกาหลีเหนือดีกรีเหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ 1976 ไปได้ด้วยฟอร์มการชกที่สวยงาม ในขณะที่อีก 3 นักชกไทยที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศอย่าง “วิชิต ลูกบางปลาสร้อย” ยอดมวยไทยที่ผันมาชกมวยสากลสมัครเล่นในรุ่นไลต์เวลเตอร์เวต, “วัลลภ โตทัศะ” รุ่นเวลเตอร์เวตและ “ระเบียบ แสงนวล” ไลต์มิดเดิลเวต ไม่อาจสามารถผ่านด่านหินนักชกจากประเทศเกาหลีใต้ไปได้ทำได้เพียงเหรียญเงินเท่านั้น
จากนั้น ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตัดสินสาธิตและสอนเทคนิคร่วมกับคณะเดินทางไปในหลายประเทศ ทั้งโซนยุโรป อเมริกาและเอเชีย โดยถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในประเทศต่างๆ ซึ่งส่งผลให้มวยไทยได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2521
ได้รับคัดเลือกและมอบหมายเป็นกรรมการผู้ตัดสินและเผยแพร่ศิลปมวยไทย ณ ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 1
ปี พ.ศ. 2532
ได้รับคัดเลือกและมอบหมายเป็นกรรมการผู้ตัดสินและเผยแพร่ศิลปมวยไทย ณ ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 2
ปี พ.ศ. 2534
ได้รับคัดเลือกและมอบหมายเป็นกรรมการผู้ตัดสินและเผยแพร่ศิลปมวยไทย ณ ประเทศอเมริกา
ปี พ.ศ. 2535
ได้รับคัดเลือกและมอบหมายเป็นกรรมการผู้ตัดสินและเผยแพร่ศิลปมวยไทย ณ ประเทศออสเตรเลีย
ปี พ.ศ. 2536
ได้รับคัดเลือกและมอบหมายเป็นกรรมการผู้ตัดสินและเผยแพร่ศิลปมวยไทย ณ ฮ่องกง ครั้งที่ 1
ปี พ.ศ. 2538
ได้รับคัดเลือกและมอบหมายเป็นกรรมการผู้ตัดสินและเผยแพร่ศิลปมวยไทย ณ ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 3
ปี พ.ศ. 2539
ได้รับคัดเลือกและมอบหมายเป็นกรรมการผู้ตัดสินและเผยแพร่ศิลปมวยไทย ณ ฮ่องกง ครั้งที่ 2
เป็นบุคคลที่ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญทั้งในด้านวงการมวยไทย และในด้านการส่งเสริมศิลปะแม่ไม้มวยไทยในต่างแดนอีกด้วย
ท่านที่สนใจถ่ายทอดเรื่องราวและมุมมองการทำงาน สร้างแรงบันดาลใจให้กับสังคม แบ่งปันเรื่องราวดีๆ สามารถส่งข้อมูลหรือติดต่อได้ที่ numsiam.pr@gmail.com