‘พีระพันธุ์’ ตั้งมือปราบ ‘เรวัช’ หัวโต๊ะสอบปมจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหิน กฟผ. แม่เมาะ วงเงิน 7,250 ล้าน

ต้องบอกเลยว่างานนี้เดือด! เมื่อ ‘พีระพันธุ์ รมต.กระทรวงพลังงาน‘ ที่กำลังโชว์ผลงานต่อเนื่อง แสดงฝีมือให้เห็นในการแก้ไขกฎหมายและผลักดันโครงการบิ๊กโปรเจคที่จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในระยะยาว เรียกว่าทั้งเข้าตาโดนใจ FC และประชาชน มาล่าสุดก็จรดปากกาแต่งตั้งพิจารณาบุคคลมาช่วยงานในการตรวจสอบโครงการต่างๆ ก็มีชื่อ พล.ต.ท เรวัช กลิ่นเกศร มือปราบขุนดง นั่งหัวโต๊ะลุยโครงการถ่านหินโรงไฟฟ้าแม่เมาะ พร้อมกับทีมงาน ป๊ะ! ถูกใจ Fc ของแทร่! ถือได้ว่าน่าติดตามอย่างยิ่ง วันนี้นำข่าวสารมาสรุปให้อ่านกัน

ตั้งกรรมการสอบปมจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหิน กฟผ. วงเงิน 7,250 ล้าน

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงนามแต่งตั้ง “พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร” เป็นประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อจัดจ้าง งานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 7,250 ล้านบาท ว่ามีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่

รายชื่อตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ 11 คน

คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวประกอบด้วย

🔹 ประธานกรรมการ

  1. พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร

🔹 กรรมการ
2. พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ
3. พ.ต.อ. ทิวา โสภาเจริญ
4. พ.ต.อ. ชัยรัตน์ วรุณโณ
5. พ.ต.อ. ชลทฤษ ชัชวาลย์
6. พ.ต.อ. เจริญ วิทิตกรกุล
7. พ.ต.ท. ศิริพล จรรยา

🔹 กรรมการและเลขานุการ
8. พ.ต.อ.เศรษฐพงษ์ จิตต์โกมุท
9. พ.ต.ท.พินิจ อุ่มบางตลาด
10. นางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์
11. นายสุทธิรักษ์ ยิ้มยัง

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ

  1. ตรวจสอบทุกขั้นตอน ของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการอนุมัติว่าจ้าง
  2. พิจารณาคุณสมบัติและเงื่อนไข ในการเสนอราคา คัดเลือกผู้รับจ้าง และการอนุมัติว่าจ้าง
  3. พิจารณาความถูกต้อง ของกระบวนการประชุมและมติของคณะกรรมการ กฟผ.
  4. ตรวจสอบความเกี่ยวข้องของบุคคลต่างๆ ในการดำเนินโครงการ
  5. วิเคราะห์ข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการว่าจ้าง
  6. เชิญเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูลและแสดงหลักฐาน
  7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยดำเนินการ
  8. เสนอแนะแนวทางแก้ไขและมาตรการป้องกันการทุจริต

หากพบความผิดต้องดำเนินการทันที

หากพบว่ามีการกระทำผิด คณะกรรมการจะดำเนินการดังนี้
🔹 ชี้ตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนวทางลงโทษ
🔹 เสนอแนวทางดำเนินคดีตามกฎหมาย
🔹 ดำเนินการอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมอบหมาย

ต้องสรุปผลภายใน 45 วัน

คณะกรรมการต้องรายงานผลการสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขอขยายระยะเวลาต่อรัฐมนตรี

ย้ำ! โปร่งใส-ไม่มีละเว้น

โดยการตั้งคณะกรรมการชุดนี้เป็นไปตาม นโยบายรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยเน้นให้เกิดความโปร่งใส ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อ กฟผ. ทั้งนี้ คณะกรรมการ กฟผ. คณะกรรมการบริหาร และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ต้องให้ความร่วมมือ กับคณะกรรมการสอบสวน

รอผลสอบสวน

อย่างไรก็ตามกรณีการจัดซื้อจัดจ้างในวงการพลังงานถือเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เนื่องจากมีเม็ดเงินมหาศาลเกี่ยวข้อง ซึ่งการตั้งคณะกรรมการฯเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชน งานนี้ได้มือปราบมาช่วยงาน แหม..ถูกใจกองเชียร์! ครับท่าน.. ยังไงต้องติดตามผลการสอบสวนและฝีมือกรรมการฯชุดนี้กันต่อ

เสียงชาวบ้าน

ฝากท่าน รมต.นำร่อง โครงการ 1 ชุมชนหรือแฟลต 1 ติดแฝงโซล่ารูฟท็อป ใน เขตกทม และ ตจว. ช่วยกลุ่มรายได้น้อย เพราะขืนรอให้หาซื้อและนำมาติดเองคงไม่มีทุนทรัพย์ซื้อ งานนี้คงต้องรอทางท่าน รมต.พลังงานและอุตสาหกรรมช่วยพิจารณาทีครับท่าน!

Piyapon pongkaew

บรรณาธิการ ThinkerFriend

New Media Scholar and Data Analyst: MEDIA AI

contact : numsiam.pr@gmail.com

Profile

ราคา Package ลงโฆษณา

ThinkerFriend.com สังคมแห่งการแบ่งปัน เรื่องราวดีๆ โดยนักคิด นักเรียน และความรู้เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับชาว ThinkerFriend ทุกคน

ยอดติดตามทุกช่องทางกว่า 50,000 follow up

สนใจติดต่อ

numsiam.pr@gmail.com