วิธีทำตัวให้เป็นที่รัก: ฉบับ อาดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่

อดัม สมิธ (ค.ศ. 1723–1790) เป็นนักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ ผลงานสำคัญของเขาคือหนังสือ “ความมั่งคั่งแห่งชาติ” (The Wealth of Nations)ซึ่งวางรากฐานแนวคิดเกี่ยวกับระบบทุนนิยมและเศรษฐกิจเสรี อดัม ยังได้เขียนหนังสือ How Adam Smith Can Change Your Life ซึ่งแสดงให้เห็นว่า “มนุษย์ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ถูกรัก แต่ต้องการเป็นคนน่ารักด้วย” หยิบยกมุมมองที่แตกต่างออกไปจากที่หลายคนเคยรับรู้ วันนี้นำมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจกันครับ

1. ความสุขที่แท้จริง: ชื่อเสียง เงินทอง หรือการเป็นที่รัก?

อาดัม สมิธ ชี้ให้เห็นว่า ชื่อเสียงและเงินทองไม่ได้เป็นแหล่งที่มาของความสุขที่แท้จริง แม้ว่าในยุคปัจจุบันเรามักจะเชื่อว่า “ถ้ารวยขึ้น หรือมีชื่อเสียงมากขึ้น เราจะมีความสุข” แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น

1.1 ตัวอย่างจากประวัติศาสตร์

  • สมิธเล่าถึงกษัตริย์พีรุส แห่งกรีกโบราณ ที่มีแผนจะพิชิตดินแดนมากมาย และเมื่อที่ปรึกษาถามว่า “หลังจากที่พิชิตทุกอย่างแล้ว พระองค์ต้องการอะไร?” คำตอบคือ “ใช้ชีวิตสบายๆ กับเพื่อน”
  • คำถามคือ “ถ้าสุดท้ายแล้วเราต้องการเพียงชีวิตที่สุขสงบ ทำไมเราต้องดิ้นรนไปให้ถึงจุดที่ไกลเกินจำเป็น?”

1.2 การตามล่าเงินและชื่อเสียงอาจเป็นกับดัก

  • ชื่อเสียงและเงินทองเป็นเหมือนกับดัก ที่ทำให้เราหลงคิดว่า “ถ้ามีมากขึ้น เราจะมีความสุขขึ้น” แต่เมื่อได้มาแล้วเรามักจะต้องการมากขึ้นไปอีก
  • ศิลปินและนักกีฬาหลายคน เช่น Elvis Presley, Michael Jackson, Whitney Houston ที่มีชื่อเสียงและเงินทองมากมาย แต่กลับต้องเผชิญกับความทุกข์

2. ทางเลือกของชีวิต: การเป็นที่รักผ่านปัญญาและคุณความดี

แทนที่จะมุ่งเน้นการไล่ล่าชื่อเสียงและเงินทอง สมิธเสนอให้เรา สร้างคุณค่าผ่านปัญญาและการทำความดี ซึ่งนำไปสู่การเป็นที่รักอย่างแท้จริง

2.1 การทำงานที่มีคุณค่า

  • เราควรเลือกทำงานที่มีความหมาย “ทำในสิ่งที่รัก และสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น”
  • ถ้าเราทำสิ่งที่รักและสามารถเลี้ยงชีพได้ สิ่งอื่นที่ตามมาถือเป็นผลพลอยได้

2.2 สมดุลระหว่างการแสวงหาและความสงบในใจ

  • สมิธเตือนว่าความทะเยอทะยานที่มากเกินไปอาจกัดกร่อนความสงบในจิตใจ
  • ความสุขุมรอบคอบ ความยุติธรรม และความสงบในจิตใจ เป็นสิ่งที่ไม่ควรแลกกับเงินทองหรือชื่อเสียง

2.3 วิธีประเมินตัวเอง

สมิธแนะนำให้เราลองมองตัวเองจากสายตาของ “ผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง” และถามตัวเองว่า
“เราชื่นชมตัวเองเพราะอะไร?”

  • เพราะเรารวยและมีชื่อเสียง?
  • หรือเพราะเราสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นและใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า?

3. สรุป: ทางเลือกของชีวิต

หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตมี 2 เส้นทางหลัก

  1. เส้นทางของชื่อเสียงและความมั่งคั่ง ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นและการไขว่คว้าไม่รู้จบ
  2. เส้นทางของปัญญาและคุณความดี ที่อาจดูเงียบสงบกว่า แต่ให้ความสุขที่แท้จริง

ทางเลือกอยู่ที่เรา จะเดินตามเสียงเชียร์และความเย้ายวนของโลก หรือเลือกเส้นทางที่สงบสุขและเป็นที่รักในแบบที่แท้จริง

🔥 “ทำสิ่งที่รัก และสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ทุกสิ่งที่มากกว่านั้นเป็นเพียงผลพลอยได้” 🔥

ThinkerFriend.com สังคมแห่งการแบ่งปัน เรื่องราวดีๆ โดยนักคิด นักเรียน และความรู้เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับชาว ThinkerFriend ทุกคน

ยอดติดตามทุกช่องทางกว่า 50,000 follow up

สนใจติดต่อ

numsiam.pr@gmail.com