ต้องบอกเลยว่างานนี้เดือด! เมื่อ ‘พีระพันธุ์ รมต.กระทรวงพลังงาน‘ ที่กำลังโชว์ผลงานต่อเนื่อง แสดงฝีมือให้เห็นในการแก้ไขกฎหมายและผลักดันโครงการบิ๊กโปรเจคที่จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในระยะยาว เรียกว่าทั้งเข้าตาโดนใจ FC และประชาชน มาล่าสุดก็จรดปากกาแต่งตั้งพิจารณาบุคคลมาช่วยงานในการตรวจสอบโครงการต่างๆ ก็มีชื่อ พล.ต.ท เรวัช กลิ่นเกศร มือปราบขุนดง นั่งหัวโต๊ะลุยโครงการถ่านหินโรงไฟฟ้าแม่เมาะ พร้อมกับทีมงาน ป๊ะ! ถูกใจ Fc ของแทร่! ถือได้ว่าน่าติดตามอย่างยิ่ง วันนี้นำข่าวสารมาสรุปให้อ่านกัน
ตั้งกรรมการสอบปมจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหิน กฟผ. วงเงิน 7,250 ล้าน
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงนามแต่งตั้ง “พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร” เป็นประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อจัดจ้าง งานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 7,250 ล้านบาท ว่ามีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
รายชื่อตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ 11 คน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวประกอบด้วย
🔹 ประธานกรรมการ
- พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร
🔹 กรรมการ
2. พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ
3. พ.ต.อ. ทิวา โสภาเจริญ
4. พ.ต.อ. ชัยรัตน์ วรุณโณ
5. พ.ต.อ. ชลทฤษ ชัชวาลย์
6. พ.ต.อ. เจริญ วิทิตกรกุล
7. พ.ต.ท. ศิริพล จรรยา
🔹 กรรมการและเลขานุการ
8. พ.ต.อ.เศรษฐพงษ์ จิตต์โกมุท
9. พ.ต.ท.พินิจ อุ่มบางตลาด
10. นางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์
11. นายสุทธิรักษ์ ยิ้มยัง
หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ
- ตรวจสอบทุกขั้นตอน ของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการอนุมัติว่าจ้าง
- พิจารณาคุณสมบัติและเงื่อนไข ในการเสนอราคา คัดเลือกผู้รับจ้าง และการอนุมัติว่าจ้าง
- พิจารณาความถูกต้อง ของกระบวนการประชุมและมติของคณะกรรมการ กฟผ.
- ตรวจสอบความเกี่ยวข้องของบุคคลต่างๆ ในการดำเนินโครงการ
- วิเคราะห์ข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการว่าจ้าง
- เชิญเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูลและแสดงหลักฐาน
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยดำเนินการ
- เสนอแนะแนวทางแก้ไขและมาตรการป้องกันการทุจริต
หากพบความผิดต้องดำเนินการทันที
หากพบว่ามีการกระทำผิด คณะกรรมการจะดำเนินการดังนี้
🔹 ชี้ตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนวทางลงโทษ
🔹 เสนอแนวทางดำเนินคดีตามกฎหมาย
🔹 ดำเนินการอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมอบหมาย
ต้องสรุปผลภายใน 45 วัน
คณะกรรมการต้องรายงานผลการสอบสวนให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขอขยายระยะเวลาต่อรัฐมนตรี
ย้ำ! โปร่งใส-ไม่มีละเว้น
โดยการตั้งคณะกรรมการชุดนี้เป็นไปตาม นโยบายรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยเน้นให้เกิดความโปร่งใส ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อ กฟผ. ทั้งนี้ คณะกรรมการ กฟผ. คณะกรรมการบริหาร และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ต้องให้ความร่วมมือ กับคณะกรรมการสอบสวน
รอผลสอบสวน
อย่างไรก็ตามกรณีการจัดซื้อจัดจ้างในวงการพลังงานถือเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เนื่องจากมีเม็ดเงินมหาศาลเกี่ยวข้อง ซึ่งการตั้งคณะกรรมการฯเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชน งานนี้ได้มือปราบมาช่วยงาน แหม..ถูกใจกองเชียร์! ครับท่าน.. ยังไงต้องติดตามผลการสอบสวนและฝีมือกรรมการฯชุดนี้กันต่อ
เสียงชาวบ้าน
ฝากท่าน รมต.นำร่อง โครงการ 1 ชุมชนหรือแฟลต 1 ติดแฝงโซล่ารูฟท็อป ใน เขตกทม และ ตจว. ช่วยกลุ่มรายได้น้อย เพราะขืนรอให้หาซื้อและนำมาติดเองคงไม่มีทุนทรัพย์ซื้อ งานนี้คงต้องรอทางท่าน รมต.พลังงานและอุตสาหกรรมช่วยพิจารณาทีครับท่าน!
Piyapon pongkaew
บรรณาธิการ ThinkerFriend
New Media Scholar and Data Analyst: MEDIA AI
contact : numsiam.pr@gmail.com