รัฐสภา – เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 68 ที่ผ่านมา ที่อาคารรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านต่างประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือความท้าทายระดับสากล” ติวเข้มบุคลากรรับมือโลกยุคดิจิทัล โดยมีนางสาวสตีจิตร ไตรพิบลูย์สุข รองเลขาธิการสภาฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านวิเทศสัมพันธ์เข้าร่วมอย่างคับคั่ง ด้าน สว. ผู้คร่ำหวอดในเวทีโลก ชี้ AI คือ “ปัจจัยที่ 5” ใครไม่ใช้ถือว่าตกขบวน จี้เจ้าหน้าที่ต้องปรับตัว-แม่นข้อมูล เพราะทุกคำพูดคือภาพลักษณ์ประเทศไทย

ว่าที่ร้อยตำรวจตรีอาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า ปัจจุบันงานต่างประเทศของรัฐสภามีความสำคัญยิ่งขึ้น ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภัยพิบัติ ดังนั้น บุคลากรจำเป็นต้องรอบรู้ ทันสมัย เข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรม และสามารถนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเสริมบทบาทของรัฐสภาไทยบนเวทีโลกให้สง่างามและแข็งแกร่ง

ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่ปาฐกถาพิเศษจาก ผศ.ดร.นพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา (IPU) ซึ่งได้ฉายภาพความสำคัญของ AI ไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า AI จะกลายเป็น “ปัจจัยที่ 5 ของชีวิต” เปรียบเสมือนยุคเปลี่ยนผ่านจากการค้นข้อมูลในห้องสมุด มาสู่ Google Search และวันนี้คือยุคของ AI ที่ค้นหาข้อมูลได้ลึกและเร็วกว่า ผู้ที่ไม่ใช้ AI จะเสียเปรียบและตามคู่แข่งไม่ทันอย่างแน่นอน

ผศ.ดร.นพดล ยังได้ยกตัวอย่างจากการประชุมรัฐสภาระดับนานาชาติว่า หลายประเทศได้นำ AI มาใช้อย่างแพร่หลายแล้ว เช่น การใช้ AI ช่วยถอดเทปและสรุปประเด็นการประชุมได้ทันที หรือการใช้บัตรประชาชนลงคะแนนเสียงได้จากทุกที่ในอาคารรัฐสภา ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมหาศาล
“สมาชิกรัฐสภารุ่นใหม่มุ่งเน้นที่ผลของงานเป็นหลัก ดังนั้น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อใช้โต้ตอบหรืออภิปรายกับนานาชาติ งานด้านต่างประเทศจึงสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติงานต้องทุ่มเทและไม่หยุดพัฒนาตนเอง เพราะท่านกำลังพูดในนามตัวแทนของประเทศไทย ข้อมูลต้องเชื่อถือได้” ผศ.ดร.นพดล กล่าวย้ำ

จากนั้น ได้มีเวทีเสวนาในหัวข้อ “การใช้เทคโนโลยี AI ในงานต่างประเทศ” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ประกอบด้วย ดร. กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย, นางสาวอรวรรณ บุนนาค นักวิชาการคอมพิวเตอร์เชี่ยวชาญ สำนักวิทยาการสารสนเทศ สำนักงานศาลปกครอง, พันจ่าเอก กิตติ ตุ้ยแม้น และปิยะพล พวงแก้ว นักวิชาการและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน ระบบสารสนเทศ IT และด้านการผลิตสื่อ AI MEDIA สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา ร่วมให้ความรู้อย่างเข้มข้น
โดยในส่วนของไฮไลท์การเสวนา คุณปิยะพล ได้นำเสนอตัวอย่าง โมเดล AI LLM ที่อยู่ขั้นตอนพัฒนา และนำเสนอเป็นไอเดียเพื่อให้เห็นถึงความสามารถของ AI วันนี้ ทั้งการบริการข้อมูลของสำนักงาน การโชล์ทักษะสกิลพูดได้ทั้งภาษาไทย และต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯลฯ การอ่านข่าว การนำมาช่วยงานในรัฐสภาได้หลายมิติ อยู่ที่ความต้องการ รวมทั้งนำเสนอนวัตกรรม AI thinkerfriend เพื่อนคิดพิชิตงาน ที่ถูดพัฒนาความสามารถแบบเฉพาะทาง โต้ตอบคล้าย chatgpt gemini ช่วยสรุปเอกสาร เรียบเรียงงานวิชาการ คิดแผนงาน แปลภาษา สอดรับกับการทำงานในด้านฝ่ายนิติบัญญัติ และงานด้านต่างประเทศ โดยเน้นไปที่การให้บริการกับเจ้าหน้าที่ที่ต้องการทดลองใช้งาน AI แบบไม่เสียค่าบริการ เพื่อให้ทุกคนในรัฐสภามีโอกาสใช้งานได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และเพื่อต้องการนำเสนอให้หน่วยงานเห็นถึงไอเดียและแนวทางเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและนำ AI มาใหบริการอย่างยั่งยืน ชูยุทธศาสตร์พัฒนาบุคลากร upskill reskill เป็น User Smart cyborg เข้าใจและใช้ ai อย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมมาภิบาลยกระดับหน่วยงานสู่ Smart parliament รัฐสภา ดิจิทัล แบบเต็มรูปแบบในอนาคต

ซึ่งวิทยากรมองว่าวันนี้หน่วยงานควรพิจารณาตัดสินใจในการสนับสนุนและนำ AI มาให้เจ้าหน้าที่ได้ทดลองใช้งาน และเชิญพาดเน่อร์ bigtech อย่าง google ที่มีสำนักงานใหญ่ในไทย และตอนนี้ตอบโจทย์ในการพัฒนางานด้านต่างประเทศ เป็น AI เฉพาะทาง ที่กำลังพัฒนาให้สามารถประชุมวีดีโอแบบสามมิติ เพิ่มความเป็นธรรมชาติเสมือนนั่งคุยกันจริงๆ ซึ่งจะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับสมาขิกและการพูดคุยด้านการทูตสร้างความสัมพันธ์อันดี ทั้งระบบการแปลภาษาแบบเรียลไทม์ ลดขั้นตอนและลดภาระเจ้าหน้าที่ เป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

ทั้งมองว่าในระยะแรก สำหรับยุทธศาสตร์ หน่วยงานอาจไม่ต้องลงทุนงบประมาณในการวางระบบและสร้าง AI ของตัวเอง เนื่องจากต้องใช้ทุนและบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูงในการพัฒนา โดยมองว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือการเป็นพาดเน่อร์กับผู้พัฒนาเทคโนโลยี AI อาทิ gemini ของ google หรือ chat gpt ของ open ai เป็นต้น พร้อมย้ำและเชิญชวนให้ผู้ปฏิบัติงานเริ่มในการนำ AI มาทดลองใช้งาน นอกจากนี้ในวงเสวนาได้พูดคุยกันเรื่อง หลักธรรมมาภิบาล จริยธรรมในการใช้งาน Ai บทบาทของเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญ จุดเปลี่ยนเกม ในการขับเคลื่อนองค์กรในปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย

และในวันที่ 24 มิ.ย.68 ทางสำนักวิชาการ รัฐสภา ร่วมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา บูรณาการความร่วมมือจัดอบรมให้กับบุคลากรภายในรัฐสภา ในเรื่อง การนำ AI มาประยุกต์ใช้งาน และผลิตสื่อ Podcast และ content วิชาการ เผยแพร่ในแพลตฟอร์มโซลเชียลของหน่วยงาน ทั้งในงานด้านวิชาการ และหนังสือ วารสาร หอสมุดรัฐสภา ให้กับเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับงานวิชาการนำไปพัฒนาต่อยอดการทำงาน ซึ่งเป้าหมายเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับหน่วยงาน และเพื่อให้บริการสมาชิกรัฐสภา และประชาชนที่สนใจมาใช้บริการหอสมุดรัฐสภาอีกด้วย